วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 4 ธรณีประวัติ

บทที่ 4 ธรณีประวัติ

  ธรณีประวัติ    

 ธรณีประวัติ  คือ  ประวัติศาสตร์ทางธรณีของโลก  ที่จะบอกเล่าความเป็นมา และ สภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต  ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ ตลอดจนวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

ข้อมูลทางธรณีวิทยาเป็นข้อมูลที่ใช้สำหรับศึกษาธรณีประวัติ  ได้แก่...    

1) อายุทางธรณีวิทยา

2) ซากดึกดำบรรพ์ 

3) โครงสร้างและการลำดับชั้นหิน

อายุทางธรณี แบ่งออกเป็น 2 แบบ  คือ... 

   1) อายุเทียบสำพันธ์  หรือ อายุเปรียบเทียบ

 เป็นอายุหินในเชิงเปรียบเทียบ

            การหาอายุหินโดยวิธีนี้  จะบอกได้เพียงช่วงอายุโดยประมาณของหิน หรือ บอกได้ว่าหินชุดใดมีอายุมากหรือน้อยกว่ากันเท่านั้น

    อายุเปรียบเทียบหาโดยอาศัยข้อมูลจาก..

            -ซากดึกดำบรรพ์ที่ทราบอายุ

            -ลักษณะการลำดับของหินชนิดต่างๆ

            -ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวืทยาของหิน

    ...แล้วนำมาเปรียบเทียบกับ  ช่วงเวลาธรณีวิทยส  ที่เรียกว่า  ธรณีกาล

    ก็จะสามารถบอกอายุของหินที่เราศึกษาได้ ว่า เป็นหินยุคไหน  หรือ ช่วงอายุของหินเป็นเท่าใด 


อายุสัมบูรณ์

อายุสัมบูรณ์(Absolute age)เป็นอายุของหินที่สามารถหาได้จากธาตุไอโซโทป ที่ประกอบอยู่ในหิน และบอกอายุเป็นตัวเลขได้ การหาอายุสัมบูรณ์ใช้วิธีคำนวณจากครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสีที่มีอยู่ใน หิน หรือซากดึกดำบรรพ์ที่ต้องการศึกษาธาตุกัมมันตรังสีที่นิยมนำมาหาอายุ สัมบูรณ์ได้แก่ ธาตุคาร์บอน-14 ธาตุโพแทสเซียม-40 ธาตุเรเดียม-226 และธาตุยูเรเนียม-238 เป็นต้น


ซากดึกดำบรรพ์

  ซากดึกดำบรรพ์ หรือบรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล (fossil) คำว่า ฟอสซิล มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตดึกดำ บรรพ์ที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์และถูกเก็บรักษาไว้ในชั้น หิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใดๆที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่างๆของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ
ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี (index fossil)  เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่บอกอายุได้แน่นอน เนื่องจากเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีวิวัฒนาการทางโครงสร้างละรูปร่างอย่างรวด เร็ว มีความแตกต่างในแต่ละช่วงอายุอย่างเห็นเด่นชัด และปรากฏให้เป็นเพียงช่วงอายุหนึ่งแล้วก็สูญพันธ์ไป 






การเกิดซากดึกดำบรรพ์

   การ เปลี่ยนแปลงจากซากสิ่งมีชีวิตมาเป็นซากดึกดำบรรพ์นั้น เกิดได้ในหลายลักษณะ โดยที่เมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง ส่วนต่างๆของสิ่งมีชีวิตจะค่อยๆถูกเปลี่ยน ช่องว่าง โพรง หรือรู ต่างๆ ในโครงสร้างอาจมีแร่เข้าไปตกผลึกทำให้แข็งขึ้น เรียกขบวนการนี้ว่าการกลายเป็นหิน (petrification)หรือ เนื้อเยื้อ ผนังเซลล์ และส่วนแข็งอื่นๆ ถูกแทนที่ด้วยแร่ โดยขบวนการแทนที่ (replacement)

เปลือกหอยหรือสิ่งมีชีวิตที่จมอยู่ตามชั้นตะกอน เมื่อถูกละลายไปกับ น้ำบาดาล จะเกิดเป็นรอยประทับอยู่บนชั้นตะกอน ซึ่งเรียกลักษณะนี้ว่า  รอยพิมพ์ (mold) หากว่าช่องว่างนี้มีแร่เข้าไปตกผลึก จะได้ซากดึกดำบรรพ์ ในลักษณะที่เรียกว่ารูปหล่อ (cast)
        
        การเพิ่มคาร์บอน (carbonization) มักเป็นการเก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์จำพวกใบไม้หรือสัตว์เล็กๆ ในลักษณะที่มีตะกอนเนื้อละเอียดมาปิดทับซากสิ่งมีชีวิต เมื่อเวลาผ่านไป ความดันที่เพิ่มขึ้น ทำให้ส่วนประกอบที่เป็นของเหลวและก๊าซถูกขับออกไป เหลือไว้แต่แผ่นฟิล์มบางๆของคาร์บอน หากว่าฟิล์มบางๆนี้หลุดหายไป ร่องรอยที่ยังหลงเหลืออยู่ในชั้นตะกอนเนื้อละเอียดจะเรียกว่า impression





 สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีลักษณะบอบบาง เช่น พวกแมลง การเก็บรักษาให้กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ โดยปกติทำได้ยาก วิธีการที่เหมาะสม สำหรับสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ ก็คือการเก็บไว้ในยางไม้ ซึ่งยางไม้นี้จะป้องกันสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จากการทำลายโดยธรรมชาติ


การลำดับชั้นหิน

ลำดับชั้นหิน คือ การเรียงตัวทับถมกันของตะกอนที่ตกทับถม ณ ที่แห่งหนึ่งในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ซึ่งมักพบว่าชนิดของตะกอนจะแตกต่างกันไปตามกาลเวลา ขึ้นกับสภาพแวดล้อมในอดีตช่วงนั้น



อายุของหิ ก็คือช่วงเวลาที่ตะกอนหรือลาวาตกสะสมตัวหรือกำลังแข็งตัวหรือจับตัว เช่น ดินสะสมตัวในทะเลสาบเมื่อประมาณ 260 ล้านปี เมื่อจับตัวเป็นหินและคงอยู่ถึงปัจจุบัน เราก็บอกว่าหินนี้มีอายุ 260 ล้านปีที่ผ่านมา สำหรับวิธีศึกษาหาอายุก็ใช้ทั้งค่าอัตราส่วนการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี หรือซากดึกดำบรรพ์ในช่วงนั้นที่เผอิญตายพร้อมๆ กับการตกของตะกอน






ชนิดของหิน

หิน อัคนี จากหินหนืดที่แข็งตัวในเปลือกโลกเรียกว่า หินอัคนีแทรกซอนเช่นหินแกรนิต และจากลาวาที่ปะทุออกมาภายนอกผิวโลกเช่นภูเขาไฟ เรียกว่า หินอัคนีพุ เช่น หินพัมมิช หินสคอเรีย




หินชั้นหรือหินตะกอน เกิดจากการสะสมหรือทับทมของเศษหิน ดิน ทราย นานเข้าถูกกดทับอัดมีตัวเชื่อมประสานปฏิกิริยาเคมีจนกลายเป็นหินในที่สุด เช่น หินกรวดมน หินทราย หินดินดาน หินปูน





หินแปร เป็นหินที่เกิดจากการแปรสภาพอันเนื่องมาจากความร้อนและความกดดันของโลก เช่น หินไนซ์แปรสภาพมาจากหินแกรนิต หินควอร์ตไซต์แปรสภาพมาจากหินทราย หินชนวนแปรสภาพมาจากหินดินดาน หินอ่อนแปรสภาพมาจากหินปูน






วัฎจักรของหิน


วัฏจักรของหิน (Rock cycle) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของหินทั้ง 3 ชนิด จากหินชนิดหนึ่งไปเป็นอีกชนิดหนึ่งหรืออาจเปลี่ยนกลับไปเป็นหินชนิดเดิมอีก ก็ได้ กล่าวคือ เมื่อ หินหนืดเย็นตัวลงจะตกผลึกได้เป็นหินอัคนี เมื่อหินอัคนีผ่านกระบวนการผุพังอยู่กับที่และการกร่อนจนกลายเป็นตะกอนมี กระแสน้ำ ลม ธารน้ำแข็ง หรือคลื่นในทะเล พัดพาไปสะสมตัวและเกิดการแข็งตัวกลายเป็นหิน อันเนื่องมาจากแรงบีบอัดหรือมีสารละลายเข้าไปประสานตะกอนเกิดเป็น หินชั้นขึ้น เมื่อหินชั้นได้รับความร้อนและแรงกดอัดสูงจะเกิดการแปรสภาพกลายเป็นหินแปร และหินแปรเมื่อได้รับความร้อนสูงมากจนหลอมละลาย ก็จะกลายสภาพเป็นหินหนืด ซึ่งเมื่อเย็นตัวลงก็จะตกผลึกเป็นหินอัคนีอีกครั้งหนึ่งวนเวียนเช่นนี้ เรื่อยไป


บทที่3 ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา

บทที่ 3 ปรากฎการณ์ทางธรณีวิทยา

ปรากฎการณ์ทางธรณีวิทยา

แผ่นดินไหว

  • สาเหตุเเละกลไกในการเกิดแผ่นดินไหว
- การเคลื่อนที่ของเปลือกโลกตามเเนวระหว่างรอยต่อของงแผ่นธรณีภาค
- ทำให้เกิดเเรงพยายามกระทำต่อชั้นหินขนาดใหญ่ เพื่อจะทำให้ชั้นหินนั้นเเตกหัก
- ขณะชั้นหินยังไม่เเตกหัก เกิดเป็ฯพลังงานศักย์ขึ้นที่ชั้นหินนั้น
- เมื่อเเรงมีขนาดมากจนทำให้แผ่นหินเเตกหัก จะเกิดการถ่ายโอนพลังงานนั้นไปยังชั้นหินที่อยู่ติดกัน
การถ่ายโปนพลังงานเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในรูปของคลื่น แผ่ออกไปทุกทิศทาง
- คลื่นที่แผ่ขากขุดกำเนิดการสั่นสะเทือนขึ้นมายังเปลือกโลกได้เรียกคล่ื่นนี้ว่า คลื่นในตัวกลาง


- อัตราเร็วในการเเผ่ของคลื่นแผ่นดินไหวขึ้นกับความมยืดหยุ่นเเละความหนาเเน่นของตัวกลาง
- เรียกจุดกำเนิดการสั่นสะเทือนว่า ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (focus)
-  ตำเเหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวเรียกว่า จุดเหนือศูนย์เกิด
- แผ่นดินไหว(epicenter)ซึ่งจะมี คลื่นพื้นผิว กระจายออกไปจามเเนวผิวโลก
- การระเบิดของภูเขาไฟอาจเป็นสาเหตุของแผ่นดินไหวได้
- การเคลื่อนตัวของเเมกมาตามเส้นทางมายังปากปล่องภูเขาไฟ อาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวก่อนที่เเมกมานั้นจะระเบิดออกมาเป็นลาวา
- การกระทำของมนุษย์ เช่น การทดลองระเบิดปรมาณู ใต้ดินก็อาจจะเป็นสาเหตุของแผ่นดินไหว

คลื่นไหวสะเทือน

-  คลื่นไหวสะเทือนมี 2เเบบ

1.คลื่นในตัวกลาง

2.คลื่นพื้นผิว


คลื่นในตัวกลาง

คลื่นปฐมภูมิ(P wave) เเละคลื่นทุติยภูมิ(S wave)

คลื่นพื้นผิว


1.คลื่นเลิฟ ( Love wave) เป็นคลื่นที่ทำให้อนุภาคของตัวกลางสั่นในเเนวราบ โดยมีทิศทางตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่นสามารถทำให้ถนนขาดหรือเเม่น ้ำเปลี่ยนทิศทางการไหล
2.คลื่นเรย์ลี(R wave) เป็นคลื่นที่ทำให้อนุภาคตัวกลางสั่น ม้วนตัวขึ้นลงเป็นรูปวงรี ในเเนวดิ่ง โดยมีทิศทางเดียวกับการเคลื่อที่ของคลื่น สามารถทำให้พื้นผิวเเตกร้าว เเละเกิดเนินเขา ทำให้อาคารที่ปลูกอยู่ด้สนบนเกิดความเสียหาย




ไซโมกราฟ(seismo-graph)
เป็นเครื่องมือบันทึกข้อมูลคลื่นแผ่นดินไหวมีเป็นเครือข่ายทั่วโลก



  • บริเวณีที่มักเกิดแผ่นดินไหว
-ตำเเหน่งของศูนย์เกิดแผ่นดินไหวมีความสัมพันธ์กับเเนวรอยต่อของแผ่นธรณีภาค
1.เเนวรอยต่อที่ล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นสาเหตของแผ่นดินไหว 80เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมักจะรุนเเรง เรียกบริเวณนี้ว่า วงเเหวนเเห่งไฟ (ring of fire) ได้เเก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ตะวันตกของเเม๊กซิโก ตะวันตกเฉียงใต้จองสหรัฐอเมริกา

2.เเนวรอยต่อภูเขาเเอลป์เเละภูเขาหิมาลัย เป็นเเหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว 15เปอร์เซ็นต์ ได้เเก่ พม่า อัฟกานิสถาน อิหร่าน ตุรกี เเถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรป

3.เเนวรอยต่อที่เหลือเป็นสาเหตุของอีก 5 เปอร์เซ็นต์ของแผ่นดินไหว ได้เเก่ บริเวณสันกลางมหาสมุทรต่างๆ ได้เเก่ บริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตเเลนติกเเนวสันเขาในมหาสมุทรอินเดีย เเละเเนวสันเขาในมหาสมุทรอาร์กติก

ความรุนเเรงของการเกิดแผ่นดินไหว

- ความรุนเเรงของแผ่นดินไหว ขึ้นกับปริมาณพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหว

- ความรุนเเรงของแผ่นดินไหว กำหนดจากผลกระทบหรือความเสียหายที่เกิดบนโลก ณ จุดสังเกต

- หน่วยวัดความรุนเเรงของแผ่นดินไหว คือ ริกเตอร์

- น้อยกว่า 2.0 ริกเตอร์ เป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก

- 6.0 ริกเตอร์ขึ้นไป จัดเป็นแผ่นดินไหวรุนเเรง

มาตราเมอร์คัลลี

คือ มาตราวัดความรุนเเรงของแผ่นดินไหว เเบ่งเป็น 12 ระดับ

1.คนไม่รู้สึกสั่นไหวเเต่เครื่องมือตรวจจับได้

2.คนในอาคารสูงรู้สึกได้

3.คนในอาคารเเม้ไม่สูงรู้สึกได้

4.คนในอาารเเละคนนอกอาคารบางส่วนรู้สึกได้ ของในอาคารสั่นไหว

5.รู้สึกได้ทุกคน ของขนาดเล็กมีการเคลื่อนที

6.วัตถุขนาดใหญ่ในอาคารมีการเคบื่อนที่

7.อาคารมาตราฐานปานกลางเสียหายเล็กน้อย

8.อาคารที่ออกเเบบพิเศษเสียหายเล็กน้อย อาคารมาตราฐานเสียหายมาก

9.อาคารที่ออกเเบบพิเศษเสียหายชัดเจน แผ่นดินเเยก

10.แผ่นดินเเยกถล่ม โคลนทรายพุ่งขึ้นจากรอยเเยก

11.ดินถล่มเเละเลื่อนไหล

12.ทุกสิ่งโดนทำลาย พื้นดินเป็นลอนคลื่น

แผ่นดินไหวในประเทศไทย


- พ.ศ 1003 ที่เวียงโยนกทำให้เวียงโยนกยุบจมลงกลายเป็นหนองน้ำใหญ่
- พ.ศ 1007 ยอดเจดีย์หักลงสี่เเห่ง
- พ.ศ 2008 ที่นครเชียงใหม่ ยอดเจดีย์หลวงหักลงมา
- พ.ศ 2506 มีแผ่นดินไหวรู้สึกได้ที่หรุงเทพมหานคร
- พ.ศ 2518 ศูนย์กลางอยู่ทีอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก มีแผ่นดินไหวขนาด 5.9 ริกเตอร์ ที่อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
- พ.ศ 2526 รู้สึกได้ในภาคกลางเเละเหนือ

แผ่นดินไหวในประเทศไทย

รอยลื่อนมีพลัง(active fault) คือ เเนวรอยเลื่อนบนเปลือกโลกที่เคลื่อนที่ได้ในประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่อยู่ยริเวณภาคเหนือ เเละด้านตะวันตกของประเทศ
คาบอุบัติซ้ำ คือ ระยะเวลาครบรอบของแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้น ณ ที่นั้นมาก่อน อาจมีระยะเป็นพันปีหรือร้อยปี หรือน้อนกว่า

ภูเขาไฟ
การระเบิดของภูเขาไฟ


เกิดจากหินหนืที่อยู่ใต้เปลือกโลกถูกเเรง ดันอัดให้เเทรกรอยต่อขึ้นสู่ผิวโลกโดยมีเเรวปะทุหรือเเรงระเบิดเกิดขึ้น สิ่งที่พุ่งออกมาจากภูเขาไฟ ระเบิกก็คือหินหนืด ไอน้ำ ฝุ่นละออง เศษหินเเละเเก๊สต่างๆ โดยจะพุ่งออกมาจากปล่องงภูเขาไฟ
- ภูเขาไฟที่ดับเเล้วได้เกิดขึ้นมานานมากเเล้วนับได้เป็นเเสนล้านปี วัตถุที่พ่นออกมาเเข็งตัวกลายเป็นกินภูเขาไฟ
- ปัจจุบันทั่วโลกมีภูเขาไฟมีพลังอยู่ประมาณ 1500ลูก เเละกระจายอยูู่ในบริเวณรอยต่อของเเผ่นธรณีภาคโดยเฉพาะบริเวณวงเเหวนไฟ
- การระเบิกของภูเขาไฟเกิดจากการปะทุของเเมกมา เเก๊ส เถ้าจากใตตต้พื้นโลก
- ขณะระเบิดเเมกมาจะขึ้นมาตามปล่องภูเขาไฟ
- เมื่อหลุดออกมานอกภูเขาไๆฟจะเรียกเเมกมา นั้นว่า ลาวา มี อุณหภูมิ 1200องศาเซลเซียส


หินอัคนี เเบ่งเป็น 2ลักษณะ

เย็นตัวบนผิวโลก                  เย็นตัวใต้ผิวโลก

เย็นตัวเร็ว                           เย็นตัวช้า

เนื้อละเอียด                         เนื้อหยาบ



หินเเกรนิต เป็น หินอัคนี ที่เกิดขึ้นในชั้นหินอื่น ดังนั้นอัตราการการเย็นตตัวลงจึงช้า เกิดจากการตกผลึกของเเร่ได้มากสังเกตเห็นผลึกเเร่ต่างๆ ได้อย่างชัดเจน



หินภูเขาไฟ
- ความพรุนของหิน ขึ้นอยู่กับ อัตราการเย็นตัวของลาวา
- ตัวอย่างของหินจากภูเขาไฟ เช่น หินบะซอลต์ หินพัมมิช หินเเก้ว หินทัฟฟ์ หินออบซีเดียน



หินบะซอลต์
- เป็นหินที่เกิดจากการเย็นตัของลาวาที่ผิวโลก ดังนั้นจึงกระทบกับอากาศหรือน้ำส่งผลให้มีการเย็นตัวเร็วลักษณะของหินจะมี เม็ดละเอียดกว่าหินเเกรนิต เเเละมีรุพรุ่นเล็กน้อย
- เป็นต้นกำเนิดอัญมณีที่สำคัญ
- ถ้ามีปริมาณของ Si จะเป็นหินเเอนดีไซด์









หินพัมมิช
- เป็นหินที่เกิดจากการเย็นตัวอย่างรวดเร็วของลาวา ทำให้มีความพรุ่นสูง บางชิ้นลอยน้ำได้


- นำมาใชเป็นหินขขัดตัว





ภูมิลักษณ์ของภูเขาไฟ

 1.ที่ ราบสูงบะซอลต์ เกิดจากลาวาของหินบะซอลต์ที่มีความหนืดไม่มากนัก ไหลแผ่เป็นบริเวณกว้างและทับถมกันหลายชั้น เมื่อแข็งตัวกลายเป็นที่ราบและเนินเขา เช่น ที่ราบสูงบะซอลต์ บ้านซับบอน อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ราบสูงเดคคาน ประเทศอินเดีย ที่ราบสูงแถบตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา (รัฐวอชิงตัน) เป็นต้น
2.ภูเขา ไฟรูปโล่ เกิดจากลาวาของหินบะซอลต์ระเบิดออกมาแบบมีท่อ เป็นการระเบิดที่ไม่รุนแรง ลาวาส่วนหนึ่งจะไหลแผ่กระจายทับถมกันเป็นสันนูนเหมือนภูเขาไฟเดิมขยายตัวออก ปล่องภูเขาไฟเล็กๆ บนยอดจะจมลงไป ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเตี้ยๆ กว้างๆ แบบกระทะคว่ำหรือโล่ เช่น ภูเขาไฟมัวนาลัวในหมู่เกาะฮาวาย เป็นต้น
 3.ภูเขา ไฟรูปกรวย เป็นภูเขาไฟที่เกิดขึ้นและรู้จักกันมากที่สุด มีรูปแบบของภูเขาไฟที่สวยงามที่สุด มีลักษณะเป็นภูเขาพูนสูงเป็นรูปโดมหรือกรวย อาจมีปล่องตรงกลางหรือไม่มีก็ได้ เพราะเมื่อภูเขาไฟดับแล้ว เนื้อลาวาแข็งตัวกลายเป็นหินอุดปล่องเอาไว้จนเต็มมองไม่เห็นปากปล่อง ภูเขาไฟรูปกรวยเกิดจากการพอกพูนของลาวาที่มีความหนืดมาก เมื่อถูกพ่นออกมาจึงไม่ไหลแผ่ออก มักเกิดจากการทับถมซ้อนกันหรือสลับกันระหว่างการไหลของลาวากับชิ้นส่วนของ ภูเขาไฟ เช่น ภูเขาไฟฟูจิยามา ประเทศญี่ปุ่น ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ภูเขาไฟมายอน ประเทศฟิลิปปินส์ ภูเขาไฟสุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้น




ภูเขาไฟในประเทศไทย


  • ภูเขาไฟดอยผาคอกจำป่าแดด และปล่องภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู จังหวัดลำปาง
  • ภูเขาพระอังคาร ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
  • ภูเขาหลวง จังหวัดสุโขทัย
  • ภูเขาพนมสวาย (วนอุทยานพนมสวาย) จังหวัดสุรินทร์ สถิติอยู่ที่ 52 ครั้ง
  • ภูเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์
  • เขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์

บทที่2 โลกและการเปลี่ยนแปลง

โลกเเละการเปลี่ยนเเปลง

ทฤษฎีการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค(plate tectonic)
  - เสนอโดย ดร.อัลเฟรด เวเกเนอร์ (D.r Alfred Wegener) 
   -ทฤษฎี : เเต่เดิมแผ่นดินบนโลกแผ่นดินผืนเดียวกัน เรียกว่า พันเจีย(Pangaea) แปลว่า แผ่นดินทั้งหมด
- ต่อมากอนด์วานาเเตกออกเป็น อินเดีย อเมริกาใต้เเละแอฟริกาส่วนออสเตรเลียยังคงเป็นส่วนหนึ้งของกอนด์วานา
- 200ล้านปีก่อนพันเจีบเเยกออกเป็น 2 ทวีปใหญ่ ได้เเก่ลอเรเซียอยู่ทางเหนือ ซึ้งยุโรปติดอยู่กับอเมริกาเหนือ เเละทวีปกอนด์นาอยู่ทางใต้



- 65ล้านปีก่อนมหาสมุทรเเอตเเลนติกเเยกตัวกว้างขึ้น ทำให้แอฟริกาเคลื่อนตัวห่างออกจากอเมริกาใต้

- ต่อมายุโรปเเละอเมริกาเหนือเเยกออกจากกัน โดยอเมริกาเหนือโค้งเช้าเชื่อมกับอเมริกาใต้ เเละออสเตรเลียเเยกออกจากเเอนตาร์กติกา


หลักฐานสนับสนุนทฤษฎีของเวเกเนอร์

รอยต่อของเเผ่นธรณีภาค รูปร่างของทวีปบางทวีปเชื่อมต่อกันได้พอดี 

- ความคล้ายคบึงกันของกลุ่มหิน เเละเเนววภูเขา กลุ่มหินในอเมริกาใต้เเอนตาร์กติกา แอหริกา ออสเตรเลีย เเละอินเดีย เป็นหินที่เกิดในยุคคาร์บอนิเฟอรัสยุคจูเเรสซิกเหมือนกัน

หินที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนจากธารน้ำเเข็ง

- ซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ มีการพบซากดึกดำบรรพ์ 4 ประเภท คือ มี โซซอรัส ลีสโทรซอรัส ไซโนกาทัส เเละกลอสโซเทรีส ในทวีปต่างๆที่เคยเป็นกอนด์วานา


- อายุบริเวณพื้นมหาสมุท จากการสำรวจมหาสมุทรแปซิฟิกเเอตเเลนติก เเละอินเดีย พบหินบะซอลต์ที่บริเวณหุบเขาทรุดเเละรอยเเยกบริเวณสันเขาใต้สมุทร
- ภาวะเเม่เหล็กโลกบรรพกาล (ร่องรอยสนามเเม่เหล็กโลกในอีต)ศึกษาจากหินบะซอลต์ที่มีเเร่เเมกนีไทต์
กระบวนการที่ทำให้เกิดการเคลื่อนท่ขิงแผ่นธรณี

- วงจรการพาความร้อน คือ กระบวนการที่สารร้อนภายในไหลเวียนเป็นวงจร ทำไห้เปลือกโลกกลางสมุทรยกตัวขึ้น

- เมื่อสารร้อนไหลเวียนขึ้นมาจะมีความหนาเเน่นเพิ่มขึ้นเเละมุดลงบริเวณร่องลึกใต้สมุทร




              แผ่นธรณีโลก

ลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค

1. ขอบเเผ่นธรณีภาคเเยกออกจากกัน




2.ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนเข้าหากัน


1.ขอบเเผ่นธรณีภาคเเยกออกจากกัน
เนื่องจากการดันตัวของเเมกมาในชั้นธรณีภาค ทำให้เกิดรอยเเตกในชั้นหินเเข็ง เปลือกโลกตอนบนทรุดตัวกลายเป็นหุบเขาทรุด เมื่อเเมกมาเคลื่อนตัวเเทรกขึ้นมาตามรอยเเยก ทำให้แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรเคลื่อนตัวเเยกออกไปทั้งสองข้าง กระบวนการนี้เรียกว่า การขยายตัวของพื้นทะเลเเละปรากฎเป็นเทือกเขากลางมหาสมุทร



2.ขอบแผ่นธรณภาคเคลื่อนเข้าหากัน มี 3เเบบ

- แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร


- แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคพื้นทวีป


- แผ่นธรณีภาคพื้นทวีปชนกับแผ่นธรณีภาคพื้นทวีป



3.ขอบเเผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ผ่านกัน
     เพราะเเต่ละแผ่นธรณีภาคมี อัตราการเคลื่อนที่ไม่เท่ากันทำให้ไถลเลื่อนผ่านมีลักษณะเป็นเเนวรอยเเตก เเคบยาวมีทิศทางตั้งฉากกับเทือกเขากลางสมุทรเเละร่องใต้ทะเลลึก เกิดแผ่นดินไหวรุนเเรงในระดับต้นๆ ในบริเวณภาคพื้นทวีป หรือมหาสมุทร 


การเปลี่ยนเเปลงลักษณะของเปลือกโลก





1.ชั้นหินคดโค้ง


คดโค้งรูปประทุน(anticline)เเละคดโค้งรูปประทุนหงาย(syncline)